การคำนวณอายุครรภ์ คือการนับอายุทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการนับ อายุครรภ์ เป็นเดือน...
มีคุณแม่ท้องแฝดมากมายเป็นกังวลกับความสามารถใน การให้นมลูก หลังคลอด...
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน...
สามารถถีบจักรยานและใช้ขาประคองจักรยานได้มั่นคง นิ้วมือและฝ่าเท้าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยว่า ทำไมในกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองถึงไม่ค่อยคุยกันเรื่องอาหารการกินของลูกๆ มากนักทั้งๆ...
เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
เพราะสุขภาพของลูกน้อยคือสิ่งที่คุณแม่ทุกคนให้ความสำคัญ หากลูกน้อยมีอาการผิดปกติ แน่นอนว่าคุณแม่ทุกคนไม่อาจอยู่นิ่งเฉยได้ โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่หรือคุณแม่เพิ่งคลอดที่อาจไม่คุ้นเคยกับพฤติกรรมทารก ยิ่งหากเป็นช่วงวัยที่ลูกน้อยไม่สามารถสื่อสารกับคุณแม่ได้ ยังไม่สามารถพูดหรือบอกเล่าถึงอาการที่เขาเผชิญอยู่ได้ ยิ่งทำให้ต้องคอยสังเกตอาการลูกเสมอ อาการที่พบบ่อยสำหรับเด็กแรกเกิด นั่นคือ ทารก 1 เดือน ท้องผูก ซึ่งเป็นอาการที่ทำให้คุณแม่หลายท่านกังวลใจ โดยนอกจากอาการท้องผูกจะส่งผลต่อสุขภาพกายลูกน้อยแล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพใจด้วยนะคะ เนื่องจากลูกน้อยจะหงุดหงิดง่าย งอแงเก่ง ขอแนะนำ วิธี แก้ ลูก ท้องผูก พร้อมวิธีรับมือที่รับรองว่าจะช่วยให้คุณแม่เบาใจยิ่งขึ้นค่ะ
ส่วนใหญ่แล้วทารกที่รับประทานนมแม่ มักจะไม่ค่อยมีอาการท้องผูกเท่าไรค่ะ แต่จะมีอาการก็ต่อเมื่อคุณแม่ให้ลูกน้อยรับประทานอาหารเสริมหรือนมผง โดยคุณแม่สามารถสังเกตอาการลูกน้อยว่ามีอาการเข้าข่ายท้องผูกหรือไม่ค่ะ สิ่งแรกที่สังเกตได้ คือ อาการท้องแข็ง เมื่อคุณแม่กดบริเวณหน้าท้องจะรู้สึกได้ว่าไม่นิ่มดังเดิม เกิดจากท้องอืดและทารกอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วยทำให้งอแงบ่อย ๆ และรู้สึกหงุดหงิด เนื่องจากไม่สบายตัวนั่นเองค่ะ นอกจากนี้ อีกสิ่งหนึ่งที่สังเกตได้ชัดเจนคืออุจจาระของลูกน้อย ซึ่งการที่ลูกน้อยอุจจาระแข็งคือสิ่งบ่งบอกได้ชัดเจนที่สุดว่าท้องผูก อุจจาระจะมีลักษณะเป็นก้อนเล็กคล้ายลูกกระสุน ก่อนปวดอุจจาระทารกอาจมีอาการเบ่งแรงกว่าปกติ ทำให้บางครั้งมีเลือดติดมากับอุจจาระ รวมถึงให้สังเกตว่าลูกน้อยจะร้องไห้งอแงช่วงก่อนและขณะถ่าย รวมถึงเบื่ออาหาร ให้คุณแม่ควรสังเกตอาการนี้สักระยะ หากพบว่าความถี่ในการถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ และเป็นติดต่อกันมากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป สามารถสันนิษฐานได้ว่า ลูก 1 เดือน ท้องผูก และจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อช่วยเหลือลูกน้อยโดยเร็ว เนื่องจากหากปล่อยไว้อาจเกิดแผลบริเวณติ่งเนื้อที่ก้นและอาจทำให้มีอาการท้องผูกเรื้อรังค่ะ
เมื่อการที่ ทารก ไม่ อุจจาระ เป็นตัวการทำให้ลูกน้อยไม่สบายตัวและทำให้คุณแม่ไม่สบายใจ ดังนั้น คุณแม่ลองมาดูกันนะคะว่ามีสาเหตุและปัจจัยใดบ้างที่เป็นตัวการทำให้ลูกรักท้องผูกค่ะ • การรับประทานนมผง จุดเด่นของส่วนผสมจากนมแม่จะมีไขมันและโปรตีนที่ช่วยให้อุจจาระไม่แข็งตัว ตรงกันข้ามกับนมผงที่มักมีส่วนผสมของสารอาหารต่าง ๆ ซึ่งสารอาหารบางชนิดอาจส่งผลให้เกิดการย่อยยากหรือล่าช้า ซึ่งเป็นผลให้อุจจาระแข็ง ถ่ายยากและทำให้ลูกน้อยท้องผูก นอกจากนี้ อาจเกิดจากสัดส่วนการชงนม เพราะหากชงเข้มข้นหรือเจือจางเกินไปจะทำให้ลูกน้อยถ่ายยากได้เช่นกันค่ะ • อาการแพ้นมวัว อีกหนึ่งปัญหาสำหรับทารกที่รับประทานนมผง เพราะนมผงรวมถึงอาหารที่มีส่วนผสมของนมวัวมักทำให้ทารกมีอาการท้องผูกค่ะ โดยหากคุณแม่ไม่ทราบหรือไม่เปลี่ยนนมที่รับประทานเลย อาจทำให้ลูกน้อยเป็นโรคท้องผูกเรื้อรังได้เลยทีเดียวค่ะ • สารอาหารจากคุณแม่ไม่เพียงพอ การที่ลูกน้อยดื่มนมจากคุณแม่ แน่นอนว่าลูกต้องได้รับสารอาหารตามประเภทอาหารที่คุณแม่รับประทานเข้าไป ดังนั้น สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกน้อยท้องผูกอาจเป็นเพราะสารอาหารจากน้ำนมแม่ไม่เพียงพอ เช่น กรณีคุณแม่ทานผักและผลไม้น้อย จึงทำให้กากใยอาหารน้อยเกินไป เป็นต้น • ขาดการเคลื่อนไหวร่างกาย อีกหนึ่งสาเหตุที่ส่งผลให้ ทารก ไม่ อุจจาระ คือทารกไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย โดยการเคลื่อนไหวร่างกายจะช่วยเร่งระบบการย่อยอาหาร และช่วยให้การลำเลียงของเสียเกิดขึ้นรวดเร็วยิ่งขึ้นค่ะ • คลอดก่อนกำหนด ไม่น่าเชื่อเลยใช่ไหมคะว่าการคลอดก่อนกำหนดคือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ ลูก 1 เดือน ท้องผูก นั่นก็เพราะระบบย่อยอาหารยังเติบโตไม่เต็มที่ส่งผลให้ระบบการย่อยอาหารไม่สมบูรณ์ อาหารที่อยู่ภายในลำไส้เคลื่อนตัวช้าทำให้อุจจาระแข็งและแห้ง เพราะเหตุนี้นั่นเองจึงทำให้ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมีโอกาสท้องผูกได้ง่ายกว่าทารกที่คลอดตามกำหนดค่ะ • ยาบางชนิดและโรคประจำตัว สาเหตุนี้อาจเกิดขึ้นไม่บ่อยนักนะคะ โดยมักพบในทารกที่มีโรคประจำตัวตั้งแต่เกิด เพราะทารกจำเป็นต้องให้ยาบางชนิด ซึ่งยาเหล่านั้นอาจก่อให้เกิดอาการท้องผูกได้ค่ะ เช่น ยารักษามะเร็ง ยาระงับประสาท นอกจากนี้ โรคประจำตัวบางโรคก็ส่งผลต่ออาการท้องผูกได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น โรคต่อมไทรอยด์ หรือโรคอื่น ๆ ที่ส่งผลให้แคลเซียมในเลือดสูง เป็นต้น
เชื่อว่าคุณแม่หลายคน เมื่อเห็นว่าลูกมีอาการท้องผูกหรือถ่ายยาก เป็นต้องกังวลใจ เพราะทารกที่ยังสื่อสารไม่ได้จะแสดงออกทางอารมณ์ เช่น หงุดหงิด ร้องไห้บ่อย เป็นต้น เพื่อให้คุณแม่รับมืออย่างถูกต้องลองมาดูวิธีป้องกันและ วิธี แก้ ลูก ท้องผูก เพื่อไม่ให้ลูกน้อยต้องเผชิญปัญหาเช่นนี้ในอนาคตค่ะ • เลี่ยงการใช้นมวัว เน้นการให้นมแม่ เนื่องจากนมแม่มีสารอาหารสำคัญที่ช่วยให้อุจจาระนิ่มและขับถ่ายง่าย เพราะฉะนั้นจึงขอแนะนำให้เลือกใช้นมแม่ ซึ่งเป็นนมที่ดีที่สุดและมีสารอาหารครบถ้วนที่สุดค่ะ แต่หากคุณแม่ท่านใดมีความจำเป็นไม่สามารถให้นมทารกได้ ควรเลือกใช้นมผงที่ไม่มีส่วนผสมของนมวัว เพราะนมผงที่มีส่วนผสมของนมวัวจะทำให้ลูกน้อยขับถ่ายยากขึ้นค่ะ นอกจากนี้อย่าลืมจดบันทึกไว้ด้วยนะคะว่าลูกรับประทานนมยี่ห้อใดแล้วมีอาการอย่างไรบ้าง เพื่อสังเกตว่านมชนิดใดที่เหมาะกับลูกมากที่สุดค่ะ • เลือกนมผงสูตรที่ช่วยเรื่องการขับถ่าย ปัญหา ทารก 1 เดือน ท้องผูก นับเป็นปัญหาที่คุณแม่หลายท่านพบเจอ ทำให้ในท้องตลาดมีผลิตภัณฑ์นมผงที่ออกแบบมาเพื่อช่วยบรรเทาปัญหานี้โดยเฉพาะ เช่น นมผงสูตรเพิ่มใยอาหารที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ รวมถึงรักษาสมดุลลำไส้ ซึ่งถือเป็นตัวช่วยหนึ่งที่จะทำให้ลูกน้อยขับถ่ายสบายยิ่งขึ้นค่ะ • พาลูกน้อยออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวร่างกายจะส่งผลให้ลำไส้ทำงานดีขึ้น เพราะฉะนั้นคุณแม่ไม่ควรปล่อยให้ลูกน้อยนอนเฉย ๆ นะคะ ควรพาออกกำลังกายเบา ๆ เช่น การยกขาลูกน้อยทั้ง 2 ข้างขึ้นลง คล้ายกับท่าปั่นจักรยานอากาศหรือการขยับแขนไปมา เป็นต้น • นวดแก้ท้องผูก เทคนิคนี้เป็นการนวดเพื่อไล่ให้อุจจาระขยับไปมาบริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย เป็นผลให้ลูกน้อยขับถ่ายสะดวกยิ่งขึ้น วิธีการคือนวดเบา ๆ บริเวณท้องด้านซ้ายของลูกน้อย ตำแหน่งใต้สะดือลงไปประมาณ 3 นิ้วมือ โดยควรนวด 2-3 นาที เป็นกิจวัตร เพื่อช่วยเรื่องการขับถ่ายค่ะ • อาบน้ำอุ่น อีกหนึ่งวิธีช่วยแก้ปัญหาลูกน้อยท้องผูกนั่นคือการอาบน้ำด้วยน้ำอุ่น เพราะน้ำอุ่นนอกจากจะช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกสบายตัวแล้ว น้ำอุ่นยังช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้องเด็กผ่อนคลาย ลดความไม่สบายตัว รวมถึงอาการท้องผูกด้วยค่ะ • ปรับเมนูอาหารของคุณแม่ เพราะสารอาหารที่ลูกน้อยได้รับนั้นมาจากน้ำนมของคุณแม่ ดังนั้นเมื่อลูกน้อยมีอาการท้องผูก แนะนำให้คุณแม่ลองปรับเมนูอาหารของตนเองดูนะคะ เช่น เน้นการรับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืช เพื่อเพิ่มกากใยให้ร่างกายและส่งผลดีให้กับลูกน้อยนั่นเองค่ะ
เมื่อคุณแม่ต้องรับมือกับปัญหา ทารกท้องผูก อย่าลืมนำคำแนะนำเหล่านี้ไปปรับใช้นะคะ แต่หากลองปฏิบัติหลายวิธีแล้วไม่ได้ผล แนะนำให้พบแพทย์เพื่อสอบถามปัญหาและขอคำแนะนำจะดีที่สุด ข้อควรระวัง คือ ไม่ควรทิ้งเวลานานเกิน 1-2 สัปดาห์ และไม่ควรเลือกใช้วิธีสวนอุจจาระ เนื่องจากวิธีนี้อาจทำให้เนื้อเยื่อภายในฉีกขาด ซึ่งแน่นอนว่าย่อมส่งผลร้ายแก่ลูกน้อย ดังนั้นหากคุณแม่ไม่แน่ใจถึงวิธีแก้ไขปัญหาท้องผูก จึงควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการรักษาหรือขอคำแนะนำจะดีที่สุด เพราะจะส่งผลดีต่อสุขภาพของลูกน้อยในระยะยาวค่ะ คุณแม่สามารถติดตามอ่านข้อมูลอันเป็นประโยชน์เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกน้อย รวมถึงทำความเข้าใจในหัวข้ออื่น ๆ เพิ่มเติมจากเว็บไซต์ฮักกี้ https://www.huggies.co.th/th-th/parenting หากมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Huggies Thailand และอย่าลืม! กด สมัครสมาชิก เพื่อรับสินค้าทดลอง พร้อมรอรับข่าวสารและอัพเดตเทคนิคดี ๆ จากเรานะคะ
ลิงค์อ้างอิง (เพิ่มจาก REF.) https://th.theasianparent.com/วิธีนวดท้องแก้ท้องผูก-ทารก https://www.phyathai.com/article_detail/1498/th/สังเกตยังไง...ว่าลูกกำลังมีภาวะท้องผูก https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/november-2014/constipation-in-children
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน แต่บางครั้งก็อาจรู้สึกว่าตารางชีวิตแน่นเกินกว่าจะหยุดพักและนึกถึงความชื่นใจของการเป็นแม่ ดังนั้น ลองหาเวลาเล่นกับลูก มอบความรักความอบอุ่นที่มีคุณค่าที่สุดให้แก่ดวงใจดวงน้อยของคุณ ในช่วงเวลาเงียบๆ แบบที่ไม่ต้องรีบร้อนไปไหน
ลูกน้อยวัย 2 เดือน
คุณแม่หลายคนได้ยินต่อๆ กันมาและเชื่อว่า การให้ลูกใส่ผ้าอ้อมเด็กทุกวันเป็นสาเหตุทำให้ลูกขาโก่ง ซึ่งความจริงแล้วการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปหรือผ้าอ้อมเด็ก ไม่ใช่สาเหตุและไม่ทำให้ลูกขาโก่งแต่อย่างใดค่ะ
การได้กลับไปทำงานนับเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นสำหรับคุณพ่อคุณแม่หลายคน ซึ่งเป็นโอกาสครั้งใหญ่ในการพิจารณาเปลี่ยนงานใหม่ เรามีคำแนะนำดีๆ มาฝากค่ะ
แฮปปี้เบิร์ธเดย์ทูยู.... ถึงเวลาร้องเพลงสุขสันต์วันเกิดให้ลูกน้อยในเดือนนี้ เพราะลูกรักได้ผ่านพ้นวัยทารกเข้าสู่วัยตั้งไข่ หลังจากลืมตาขึ้นมาดูโลกครบหนึ่งปีเต็ม เวลาช่างผ่านไปไวเหมือนติดปีกบิน ถึงวันนี้คุณพ่อคุณแม่คงนึกถึงชีวิตก่อนมีเจ้าตัวเล็กแทบไม่ออก แต่ไม่ว่าในปีที่ผ่านมาชีวิตจะเปลี่ยนแปลงไปเช่นไร เราคงยอมรับว่า เจ้าตัวน้อยได้เพิ่มมิติใหม่ๆ ให้ชีวิตครอบครัวอบอุ่นขึ้น
สำหรับเด็กในช่วงอายุตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไป มีความอยากรู้อยากเห็นมากขึ้นและพยายามคลานสำรวจโลกใบน้อยของเค้าอย่างอิสระ ในช่วงนี้ลูกจะมีความสุขกับการเล่น เริ่มตื่นนานขึ้น ดังนั้นการมอบโอกาสให้เค้าได้เคลื่อนไหวอย่างอิสระ จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมพัฒนาการของลูกได้ค่ะ ลูกน้อยบางคนจะเริ่มฝึกยืนด้วยการเกาะขอบเปลหรือคอก และภูมิใจที่ตัวเองทำได้ คุณแม่จึงต้องหมั่นสังเกตุและชื่นชมอยู่เสมอเพื่อกระตุ้นความมั่นใจและพร้อมที่จะฝึกต่อไป
ในระหว่างตั้งครรภ์ก็มีสารอาหารบางอย่างที่จำเป็นต้องเสริมเพิ่มเติมให้ทั้งคุณแม่และลูกน้อยมากเป็นพิเศษ ได้แก่ ธาตุเหล็ก, แคลเซียม, ไอโอดีน รวมถึง กรดโฟลิก
การกลับไปทำงานวันแรกหลังลาคลอดเป็นช่วงเวลาทรมานใจมิใช่น้อย นี่จะเป็นครั้งแรกที่แม่ลูกต้องอยู่ห่างกัน เมื่อไม่ได้อยู่ดูแลลูกอย่างใกล้ชิด คุณแม่ก็มักกังวลไปหมดทั้งเรื่องการเลี้ยง ความสะอาด และอาหารของลูก คุณแม่ที่ทำงานนอกบ้านส่วนใหญ่มักหาผู้ช่วย เช่น พ่อแม่ สามี หรือญาติ ๆ มาดูแลเจ้าตัวเล็กให้ บางคนก็จ้างพี่เลี้ยงมาดูแลโดยเฉพาะหรือพาลูกไปฝากเนอสเซอรี แต่อย่างไรคุณก็ยังสลัดความกังวลออกไปไม่หมดอยู่ดี อย่ากังวลเลยค่ะ คุณแม่ทั้งหลาย นี่คือสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อให้แน่ใจว่าลูกจะได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมค่ะ
นมแม่เป็นอาหารที่มีคุณค่ามากที่สุดสำหรับลูกน้อยได้ตั้งแต่แรกเกิด เป็นอาหารที่หล่อเลี้ยงชีวิตเสริมสุขภาพของเด็กทารกให้มีความแข็งแรง มาดูกันค่ะมีอะไรบ้าง