เมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลก ไม่ว่าเรื่องอะไรที่เกี่ยวกับลูก ทุกอย่างต้องคัดสรรมาอย่างดีที่สุด คุณแม่ต้องพิถีพิถัน เลือกแล้วเลือกอีก...
บทความนี้ถูกบันทึกลงในรายการบทความที่ฉันชื่นชอบ คุณสามารถเข้าไปดูบทความที่คุณบันทึกไว้ได้ที่โปรไฟล์ของฉัน
ลูกน้อยวัย 1 เดือน เมื่อมีสมาชิกตัวน้อยๆ เพิ่มเข้ามาในครอบครัว ถือเป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของบ้าน แทบจะเรียกได้ว่าทุกวินาทีที่ผ่านไปรวดเร็วจนอาจจะตั้งตัวไม่ทัน และบางครั้งก็อาจทำให้คุณแม่กังวลมากจนแทบจะไม่มีเวลาทำสิ่งอื่นนอกจากการดูแลลูก
ลูกน้อยวัย 1 เดือน ต้องการการดูแลใกล้ชิดอย่างมาก เพราะยังหัดทำอะไรเป็นตารางเวลาไม่ได้ โดยเฉพาะเรื่องการนอน ทารกแรกเกิดส่วนใหญ่ยังไม่สามารถควบคุมการนอนและตื่นได้ ลูกน้อยจะตื่นมาหลังจากนอนได้เพียง 2-3 ชั่วโมง และพร้อมกินนมก่อนจะนอนหลับต่อในเวลาต่อมาไม่นาน
การให้นมลูกน้อย ในช่วงเดือนแรก ควรป้อนนมทารกอย่างน้อย 6 ครั้งในแต่ละวัน หรือ 12 ครั้งต่อวันถ้าให้นมแม่ ระวังอย่าป้อนนมลูกในแต่ละครั้งมากเกินไป คอยสังเกตอาการของลูกน้อยเมื่อรู้สึกอิ่ม เพื่อปรับปริมาณและเวลาที่ป้อนนมให้เหมาะสม
การนอน เดือนแรกนี้ลูกน้อยจะใช้เวลานอนค่อนข้างมาก เมื่อคุณแม่สังเกตเห็นว่าลูกน้อยเริ่มง่วง ควรให้ลูกนอนพักในเปลหรือเตียง ซึ่งส่วนใหญ่จะเริ่มง่วงและหลับสนิทหลังจากการป้อนนมได้ไม่นานนัก
คุณแม่อาจจะเห็นลูกน้อยวัย 1 เดือนยิ้มเป็นครั้งแรกในช่วงวัยนี้ แต่สิ่งที่คุณเห็นนั้นเป็นเพียงการแสดงออกของกล้ามเนื้อบนใบหน้ามากกว่า ซึ่งรอยยิ้มของลูกน้อยจริงๆ จะมีต่อเมื่อผ่าน 6 สัปดาห์ไปแล้ว และทารกบางคนอาจจะมีอาการโคลิกหรือร้องกวนมากขึ้นเพื่อฝึกการทำงานของปอด อาการร้องไห้ไม่หยุดนี้ทำให้พ่อแม่มือใหม่หลายคนกังวลใจมาก เพราะไม่รู้วิธีรับมือกับเรื่องนี้ สิ่งที่ทำได้ง่ายมากๆ คือ การปลอบลูกน้อยด้วยความอ่อนโยน
พัฒนาการของทารก เมื่อแรกเกิดลูกน้อยจะจ้องมองหน้าแม่และหันตามได้ และวัยนี้ลูกน้อยจะเรียนรู้ที่จะตอบสนองต่อเสียงของคนที่คุ้นเคยโดยหันหาที่มาของเสียงได้ เช่น มองหาใบหน้าของแม่และพ่อ และมีปฏิกิริยากับคนรอบข้าง พฤติกรรมนี้ช่วยให้ลูกน้อยได้ฝึกการทำงานของสมองในการจดจำ และเรียนรู้โลกรอบๆ ตัว แม้ว่าลูกยังต้องการการดูแลจากเรา แต่เค้าก็แสดงออกถึงความต้องการของตัวเองได้ด้วย
การเจริญเติบโตของลูกน้อย น้ำหนักในช่วงเดือนแรกควรมากกว่าน้ำหนักแรกเกิด โดยเฉลี่ยแล้วลูกน้อยควรจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 150-200 กรัมต่อสัปดาห์ หากพบว่าลูกน้อยมีน้ำหนักตัวเพิ่มไม่เป็นไปตามเกณฑ์ควรรีบปรึกษากุมารแพทย์ทันที บริเวณที่สะสมไขมันที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ ต้นขา หน้าท้องและใบหน้า กรณีที่ลูกน้อยมีน้ำหนักตัวมากขึ้น ไขมันส่วนเกินจะไปพอกเพิ่มเติมบริเวณลำคอและช่วงแขน ซึ่งคุณแม่ยังไม่ต้องกังวลมากนักในช่วงเดือนแรก เพราะการเลี้ยงลูกน้อยด้วยนมแม่ซึ่งมีปริมาณไขมันค่อนข้างสูง ทำให้ทารกมีน้ำหนักเพิ่มสูงขึ้นง่ายในระยะ 2-3 เดือนแรก และเดือนต่อมาก็จะเติบโตตามปกติ การดูแลสุขอนามัยที่ดี
ลูกน้อยของคุณควรได้รับการฉีดวัคซีนในเดือนแรกตามที่แพทย์นัด และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย เพราะลูกน้อยยังไม่มีภูมิต้านทานที่แข็งแรงมากพอในการป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อต่างๆ
หมั่นล้างมือให้สะอาดและเช็ดให้แห้งเสมอทุกครั้งก่อนที่จะมีการสัมผัสกับลูกน้อย เพื่อควบคุมและป้องกันเชื้อโรคที่แฝงอยู่ตามที่ต่างๆ และควรใช้ครีมบำรุงผิวของคุณเองด้วยเมื่อรู้สึกว่ามีอาการผิวแห้งจากการล้างมือบ่อยครั้ง
ปลอดภัยไว้ก่อน เมื่อคุณต้องเดินหรือลุกออกมาจากลูกน้อย ต้องมั่นใจทุกครั้งที่จะตรวจเช็คความเรียบร้อยของเตียง หรือเปลที่ลูกน้อยนอนอยู่ หมั่นทำให้เป็นนิสัย ในช่วงแรกนี้ไม่ควรปล่อยลูกอยู่เพียงลำพังเด็ดขาด เพราะทารกอาจจะขยับตัวและเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย และข้อห้ามที่ไม่ควรมองข้ามอีกเรื่อง คือ ไม่ควรอุ้มลูกน้อยพร้อมๆ กับการทำงานอื่นๆ หรือ แม้แต่อ่านคู่มือเลี้ยงลูกด้วยมืออีกข้าง ส่วนการดูแลบริเวณบ้านควรติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันสำหรับเด็กตามเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ภายในบ้าน สิ่งเหล่านี้อาจจะทำให้สมาชิกผู้ใหญ่คนอื่นๆ ต้องปรับตัวบ้างเล็กน้อย
การเล่นของลูกน้อย หมั่นลูบหรือคลึงเบาๆ บริเวณช่วงท้องของลูกน้อยในแต่ละวัน เพื่อให้ทารกได้มีการขยับคอและเสริมความแข็งแรงให้กับลำตัวส่วนบน ลูกน้อยอาจจะแสดงอาการรำคาญให้เห็นบ้าง คุณแม่อาจใช้เสียงเพลงและขยับตามจังหวะดนตรีช่วยให้ลูกน้อยได้เรียนรู้และจดจำเสียงรอบๆ ตัว เป็นการฝึกประสาทสัมผัสทางการได้ยินและแยกแยะเสียงที่คุ้นเคยได้ และทารกก็จะได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกับสมาชิกในบ้านคนอื่นๆ
สิ่งที่คุณแม่ต้องเรียนรู้
รู้ทันอารมณ์ คุณแม่หลังคลอดต้องพร้อมรับมือกับสถานการณ์ตึงเครียดและความกังวลมากมาย ทั้งหมดนี้เป็นเพราะสิ่งที่คุณเตรียมตัวมาตลอดระหว่างตั้งครรภ์ได้ถูกใช้ไปหมดแล้ว นี่คือสาเหตุที่ทำให้คุณแม่เหนื่อยล้าได้ง่ายกว่าเดิม ดังนั้น คุณแม่ควรพักผ่อนระหว่างที่ลูกน้อยนอนหลับด้วย อย่าคิดว่าจะวางแผนทำกิจกรรมอื่นๆ ตอนที่ลูกน้อยกำลังหลับสบาย เพราะการที่คุณไม่ได้พักผ่อนเลย จะยิ่งทำให้คุณแม่อ่อนแรงและหมดพลังในการดูแลลูกรักได้ การดูแลและใส่ใจตนเอง
ขั้นตอนง่ายๆ ที่ช่วยให้คุณแม่สดชื่นขึ้น คือ กิจวัตรประจำวันแสนธรรมดา อาทิ อาบน้ำ แปรงฟัน แต่งตัวและทำผม หลังจากที่คุณดูแลความเรียบร้อยของลูกน้อยแล้ว ถึงเวลาที่ต้องแข็งใจปล่อยให้ลูกน้อยร้องไห้เมื่ออยู่ตามลำพังสักพัก ระหว่างที่คุณทำภาระกิจส่วนตัวเล็กๆ น้อยๆ การที่คุณแม่ได้มีเวลาส่วนตัวบ้างถือเป็นสิ่งจำเป็นไม่น้อย เพราะเปรียบได้กับการชาร์จแบตเตอรี่และสร้างพลังใจที่ดีกับคุณแม่ในการกลับมาดูแลลูกน้อยอีกครั้ง
คุณแม่กับการพักผ่อน คุณแม่หลายคนหันมางีบหลับในตอนกลางวันระหว่างที่เลี้ยงลูกน้อย บางคนคลายความเครียดด้วยการอ่านนิตยสาร นั่งพักด้วยท่านั่งสบายๆ เพื่อเก็บพลังงานเอาไว้เลี้ยงลูกน้อย ในช่วง 2-3 เดือนแรกนี้คุณแม่มักจะนอนไม่พอ เพราะต้องตื่นมาดูแลลูกน้อยที่ยังตื่นและนอนไม่เป็นเวลา
ความสัมพันธ์ของคุณกับคนรอบข้าง การเลี้ยงลูกเป็นสิ่งที่คุณแม่จะทุ่มเทเวลาให้เป็นสิ่งแรก จนไม่มีโอกาสไปสังสรรค์กับเพื่อนฝูงเช่นเคย ดังนั้น คุณควรแบ่งเวลาและจัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่จำเป็นก่อนหลังให้ดี และไม่ควรรู้สึกผิดหากคุณจำเป็นต้องงดกิจกรรมบางอย่างกับเพื่อนในช่วงนี้ คนส่วนใหญ่เข้าใจดีว่าการเลี้ยงดูทารกแรกเกิดนั้นต้องใกล้ชิดตลอดเวลา
เผลอเดี๋ยวเดียวเวลาก็ผ่านไปครึ่งปีแล้วนับจากวันที่ลูกน้อยลืมตาขึ้นดูโลก แม้คุณแม่จะตั้งอกตั้งใจดูแลลูกรักให้ดีที่สุดในทุกๆ วัน แต่บางครั้งก็อาจรู้สึกว่าตารางชีวิตแน่นเกินกว่าจะหยุดพักและนึกถึงความชื่นใจของการเป็นแม่ ดังนั้น ลองหาเวลาเล่นกับลูก มอบความรักความอบอุ่นที่มีคุณค่าที่สุดให้แก่ดวงใจดวงน้อยของคุณ ในช่วงเวลาเงียบๆ แบบที่ไม่ต้องรีบร้อนไปไหน
ลูกน้อยวัย 2 เดือน
สารพันเรื่องผ้าอ้อม
พอย่างเข้าสู่วัย 7 เดือนขึ้นไป คุณแม่น่าจะสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมากของลูกน้อย ไม่ว่าจะเป็นการกินที่อาจจะเบื่ออาหารเดิมที่เคยชอบ การนอนที่ยาวนานมากขึ้นในตอนกลางคืน น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของน้ำหนักเมื่อแรกเกิด หรือแม้แต่บุคลิกภาพที่เค้าแสดงความต้องการของตัวเองออกมามากขึ้น และมีความพยายามลองทำสิ่งที่ไม่เคยทำ หรือแสดงอาการต่อต้านออกมาให้เห็นในช่วงนี้แล้วล่ะค่ะ ซึ่งคุณแม่ควรใจเย็น เฝ้าดูอย่างใกล้ชิดนะคะ
ตรวจสอบข้อมูลโดย
สายใยความผูกพันระหว่างแม่ลูกจะถักทอแน่นแฟ้นขึ้นผ่านการสัมผัสเนื้อตัวกันและกัน เป็นเรื่องมหัศจรรย์เหลือเชื่อที่การกอดกันเพียงไม่กี่วินาทีจะสามารถเปลี่ยนอารมณ์ความรู้สึกคนเราได้มากมาย โดยเฉพาะกับอ้อมกอดที่แสนอบอุ่นและเต็มไปด้วยความห่วงใย
การเปลี่ยนแปลงของเต้านมเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการตั้งครรภ์ได้ค่ะ เริ่มตั้งครรภ์ คุณแม่จะเห็นได้ว่าหน้าอกเปลี่ยนแปลงจากเดิมหลายอย่าง
นมแม่เป็นอาหารที่มีคุณค่ามากที่สุดสำหรับลูกน้อยได้ตั้งแต่แรกเกิด เป็นอาหารที่หล่อเลี้ยงชีวิตเสริมสุขภาพของเด็กทารกให้มีความแข็งแรง มาดูกันค่ะมีอะไรบ้าง
นมแม่คือลูกคือสุดยอดอาหารสำหรับลูกน้อย องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าลูกควรได้รับนมแม่ตลอดช่วงหกเดือนแรกจนถึงอายุ 2 ปีหรือกว่าแม่จะไม่มีน้ำนมให้ นี่คืองานหนักของคุณแม่ เพราะต้องใช้ทั้งเวลา พลังงาน และต้องเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตด้วย